ท่านจงเอาใจใส่และแก้ไขในครอบครัว
บสส 68:6
“พระเจ้าทรงให้คนโสดเปลี่ยวใจได้มีครอบครัว ...........”
คำนำ ก.พระประสงค์ของพระเจ้าในการทรงสร้าง
-เมื่อพระเจ้ามีโครงการสร้างมนุษย์ และสร้างให้เป็นเพศชายไม่ได้ประสงค์ให้มนุษย์อยู่คนเดียว
พระองค์ประสงค์มีชีวิตอยู่แบบครอบครัว เพราะต่อมาพระองค์ได้สร้างผู้หญิงเป็นคู่เคียงเหมาะ
-การสมรสของมนุษย์เป็นการสร้างความเป็นอยู่ของกลุ่มคนที่แตกต่างจากสัตว์ สัตย์บางชนิดจะสร้างบ้านของตัวเอง เช่น นก หนู มันจะขนเศษสิ่งของต่างๆมาทำรังเป็นครอบครัว
แต่สัตว์บางชนิด เมื่อมีครอบครัว ก็แค่หาที่อยู่เป็นที่เป็นทาง เช่น สุนัข มันไม่สร้างครอบครัวแต่ หาที่คลอดลูกเท่านั้น สัตว์ส่วนใหญ่แม่จะเป็นผู้ดูแลลูกของมัน
แต่มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ เมื่อมีครอบครัวจะต้องดูแลเป็นอย่างดี
ข.พระเจ้าระบุความชัดเจนในการสร้างครอบครัว
-เรื่องอำนาจของการ ครอบครองบ้านเรือนเป็นหน้าที่ของผู้นำครอบครัว แล้วแต่
ครอบครัว นั้นๆ บางบ้านอาจจะไม่มีพ่อ จึงเป็นหน้าที่ของมารดา หรือ คุณปู่คุณย่า
-ความรับผิดชอบของครอบครัว ในครอบครัวที่มีพระเจ้า พ่อต้องยอมให้พระเยซูคริสต์
เป็นผู้นำชีวิตครอบครัวเรา หน้าที่ของแม่ ต้องยอมให้สามีเป็นผู้นำครอบครัว ลูกๆก็ต้อง
ยอมรับการปกครองของพ่อแม่ ทุกอย่างต้องเป็นระบบ ถ้าทุกอย่างไม่เป็นตามที่พระเจ้า
กำหนด โลกของความเป็นครอบครัวก็จะสับสน ไม่เป็นระบบ ชีวิตครอบครัวจะ
วุ่นวาย
ค.ควรจัดเรียงความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน
-ถ้าจะให้เป็นตามโครงสร้างของพระเจ้า เราต้องจัดระบบด้วยการฝึกฝนในการอยู่
ร่วมกัน ต้องยอมรับตามกฎของพระคัมภีร์
ฝึกฝนในการใช้เวลาร่วมกัน อยู่ด้วยความผูกพันไม่ใช่เป็นเพราะความจำเป็นต้องอยู่
ด้วยกัน ถ้าจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันนั้น ไม่มีความสุข เรารักลูกจึงอยู่กับลูก เรารักภรรยา
จึงอยู่กับภรรยา ไม่ใช่เพราะเป็นหน้าที่ ครอบครัวที่มีพระเจ้าต้องอยู่ด้วยความรัก
บทเพลงสรรเสริญ 127: 3 “จงดูเถิด การมีบุตชายหญิงย่อมเป็นของประทานมาแต่พระยะโฮวาและการตั้งครรภ์นั้นคือรางวัลของพระองค์”
ต่อไปนี้เราจะบำรุงและดูแลครอบครัวได้อย่างไร
1.การแสดงความรักความชื่นชมในครอบครัวให้มีคุณค่า
-ไม่เป็นเรื่องแปลกที่คนเราจะรักสัตว์ และเลี้ยงไว้ดูเล่นสักอย่าง 2 อย่างบางคนรักหมาเลี้ยงหมา
บางคนเลี้ยงแมว บางคนเลี้ยงหนูน่ารักๆ บางคนเลี้ยงไก่ อาจไว้ดูหรือไว้ทำอาหาร
แต่ถ้าใจไม่รัก จะไม่อยากเลี้ยงไว้
-มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ ที่นึกอยากจะเลี้ยงแล้วก็ไปหาซื้อมาเลี้ยง แต่เราต่างหากที่สร้างเขาขึ้นมา เราต้องแสดงความรักต่อคนที่อยู่ในครอบครัว
อาจจะเป็นแสดงความรักทุกวันหรือ ทุกโอกาสที่เราทำได้ เช่นวันเกิด วันครบครอบแต่งงาน
วันพ่อ วันแม่ วันสำคัญๆของคนใดคนหนึ่ง อาจสอบได้ที่ 1 หรือสอบได้คะแนนดีกว่าที่ผ่านมา แต่การให้รางวัลพร่ำเพรื่อก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่น่าตื่นเต้นไปก็มี
-แต่สำหรับบางคนไม่เคยได้อะไรเป็นรางวัลพิเศษในชีวิต น่าสงสารเด็กกำพร้าที่เขาไม่เคยได้รับสิ่งเหล่านี้จากครอบครัว เราต้องขอบคุณพระเจ้าที่เรามีครอบครัวที่เชื่อพระเจ้า ถ้าเราคิดอยากได้ความรักจากคนในครอบครัวของพระเจ้า เราต้องรักซึ่งกันและกัน
2.การยอมฟังคนในครอบครัว
-บสส 116:1-2 “ข้าพเจ้ารักพระยะโฮวาเพราะพระองค์ได้ทรงฟังน้ำเสียงและคำทูลอธิษฐานของข้าพเจ้า เพราะพระองค์ได้ทรงเงี่ยพระกรรณฟังข้าพเจ้า เหตุฮะนั้นจ้าพเจ้าจะร้องทูลพระองค์ตลอดชีวิตของข้าพเจ้า” พระเจ้าทรงสดับฟังเราทุกเรื่องที่เราร้องทูล
ในทางเดียวกัน เราในฐานะลูกก็ต้องฟัง ยอมฟังเพื่อจะได้เข้าใจ
บางที่ผมก็เป็นบ้างที่ไม่ฟังลูก แต่ทุกอย่างก็ต้องดูเหตุผล ลูกอาจไม่เข้าใจเหตุผลของพ่อแม่ ในสิ่งที่เราให้ไม่ได้เพราะเรารู้ว่าสิ่งที่ลูกต้องการนั้นมันขัดต่อ ความขัดแย้งของเรา เขายังเด็ก บางทีไม่เข้าใจผู้ใหญ่ ลูกไม่รู้ว่าเราเป็นห่วง แต่ลูกกลับคิดว่าพ่อแม่ห่วงไม่เข้าท่าเลย
บางทีเขามีสิ่งที่เราต้องฟัง ต้องมีเหตุผลผมจึงจะฟัง บางเรื่องลูกไม่ฟัง เช่น เอารถไปในเมืองผมไม่ค่อยอยากให้เอาไป รถมันเยอะ อันตราย เราสูญเสียน้องไปแล้วก็ไม่อยากสูญเสียลูกหลานไปอีก ขับรถต้องระวังทั้งคนและรถ นครสวรรค์ขับรถไม่ค่อยถูกกฏไม่รักษากฏไม่ค่อยมีน้ำใจ อยากจะจอดก็จอดไม่เปิดไฟเลี้ยวก็มี
-การรับฟังลูกๆ เป็นหน้าที่แต่ก็ต้องฟังแล้วตัดสินว่าควรหรือไม่ควรทำ พอเขาโตมาเขาจะรู้ว่า ทำไมพ่อแม่จึงไม่อนุญาต เด็กไม่ค่อยยอมรับในความคิดผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่บางทีก็มองการไกลในสิ่งที่เด็กมองไม่เห็น
-การรับฟังกับการฟังแตกต่างกัน การรับฟังคือฟังไว้ ไม่ได้ตัดสินใจทันที แต่การฟังซึ่งกันและกัน คือการแชร์ความรู้สึกต่อกัน อารมณ์ กระทบกระเทือนต่อการฟังมาก ฟังแล้วอารมณ์ขึ้น ต้องระวัง พ่อแม่ต้องหัดฟังลูกพูด มิเช่นนั้นถ้าเราไม่ฟัง เขาจะไปพูดกับคนอื่น
- บางคนดีแต่พูดไม่ค่อยฟัง ต้องหัดฟังคนอื่นเขาพูด ฟังความเดือดร้อนคนอื่นบ้าง
3.ควรส่งเสริมลูกๆและคนในครอบครัว
-เป็นการดีที่ลูกอยากเรียนอะไร เราควรเน้นแต่เด็ก ผมเข้าใจบางคนอยากส่งเสริมให้ลูกเรียนเก่งๆแต่ไม่ค่อยมีเงินส่งเสริม ไม่ยากเราไม่มีเงินเราก็ควรสอนด้วยตัวเราเอง หาเวลาสอนการบ้านลูกบ้าง การได้สอนการบ้าน ทำให้เราเข้าใจลูกว่าลูกเราเรียนถึงไหนแล้ว ลูกเราเรียนเก่งหรือไม่เก่ง เราต้องเสริมอะไรบ้าง
-เด็กบางคนเรียกร้องความสนใจให้พ่อแม่ดูแลเขา อยากให้คนอื่นมาชื่นชมว่าเราเรียนเก่ง เราทำได้ พ่อแม่บางคนไม่เคยชมลูก ผมชอบใจวันนั้นพงษ์กับแพรว เขาตากผ้าเยอะมากไม่มีราวจะตาก เขาก็แก้ปัญหาด้วยการทำราวเพิ่ม ทำกันสองคนอย่างลำบากแต่เขาก็มีความพยายามทำจนได้ ไม่รู้พ่อแม่ชมหรือเปล่าว่าลูกเก่ง
-คนในครอบครัวเป็นทุกคน โดยเฉพาะลูก สนใจหนูหน่อยซิ ส่งเสริมให้ลูกรักการอ่าน ผมชอบที่หนูดีชอบเดินหาหนังสืออ่าน แต่อ่านนิยายมากก็ไม่ค่อยดี ผมอยากให้อ่านความรู้ทั่วไป เราควรส่งเสริมการอ่านแก่เด็กๆ อ่านพระคัมภีร์ก็ดี ที่บ้านเราแม่เขาจะพาลูกๆอ่านพระคัมภีร์ทุกวันศุกร์
4.ฝึกอบรมให้อยู่ในระเบียบ มีวินัยตามกรอบของครอบครัว
-ทุกบ้านต้องมีกรอบ มีระบบ มีแผนในการอยู่ด้วยกัน ทุกบ้านของคริสเตียนต้องฝึกให้ลูกมีระบบในการใช้ชีวิต มีกรอบที่ควรอยู่ สร้างกรอบไว้ไม่ให้ออกนอกลู่ ไม่ไปดูหนังโป๊ ไม่เที่ยวกลางคืนไม่คบเพื่อนกินเหล้าสูบบุหรี่ ไม่มีเพื่อนเป็นนักเลง
-สอนให้ลูกมีพระเจ้า ไม่เอาพระพุทธเข้ามาในบ้าน ไม่ให้ลูกเราใส่หรือผูกด้ายสายสิญจน์ ไม่ให้ลูกแขวนพระห้อยพระ สอนเขาให้รู้ว่าเรามีพระเจ้า อยู่ในกรอบ
ของการเป็นคริสเตียน ไม่ใช่สอนลูกแต่แอบไปทำไม่ให้ลูกรู้ ถึงลูกรู้ก็ห้ามลูกอย่าไปบอกใครในโบสถ์
-มีการลงวินัยกับลูก เมื่อลูกทำผิดควรตี แต่ไม่ตีให้ตาย ในห้องประชุมเราต้องมีวินัยในการให้เขานั่งฟัง ลูกทำผิดต้องตี เฮ็บราย 12:11 “การตีสอนทุกอย่างเมื่อกำลังถูกอยู่นั้นไม่เป็นการชื่นใจเลยแต่เป็นการเศร้าใจแต่ภายหลังก็กระทำให้เกิดผลเป็นความสุขสำราญแก่บรรดาคนที่ต้องทรอยู่นั้นคือความชอบธรรมนั้นเอง”
5.การระวังในการใช้คำพูด
อะไรบ้างที่เราควรระวังในการใช้คำพูดในครอบครัว
1)การพูดพร่ำเพรื่อ พูดไม่รู้จบ ไม่เป็นเฉพาะผู้หญิงบางทีผู้ชายก็เป็นไม่รู้จบ ผู้หญิงพูดมากๆก็เหมือนฝนตกพรำๆ ดูสุภาษิต 28;15
2)การพร่ำด่า ขุดเอามาพูด จำไม่รู้ลืม โกรธเมื่อไรก็ขุดมาพูด
3)การพูดหยาบคาย คำโลนลามกไม่สุภาพ ต้องระวัง
4)การพูดตำหนิให้ช้ำใจ ว่าแล้วว่าอีกให้เสียใจ พูดซ้ำเติมให้เจ็บใจ
5)การพูดเสียดสี กระแทกแดกดัน พูดแขวะให้อีกฝ่ายได้เจ็บ
ทุกอย่างเราต้องเปลี่ยนหมด พูดแบบคริสเตียนพูดอย่างให้กำลังใจ
สรุป เราต้องเห็นความสำคัญของครอบครัวก่อนจึงจะรู้จักใช้สิ่งเหล่านี้ ถ้าเรามองไม่เห็นความสำคัญ
เราก็ไม่มีใจที่จะทำ
รักครอบครัว ต้องสร้างให้ครอบครัวอบอุ่น ไม่มีใครขาดความรัก เติมให้ครอบครัวอิ่มเอมใจ
ครอบครัวที่สมบูรณ์ ต้องมีพระเจ้าเป็นผู้นำ และให้พระเยซูเป็นผู้ครอบครองบ้านเรือนเป็นที่ปรึกษาของเรา
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกๆ เพราะเขาต้องการผู้นำที่เข้มแข็ง คริสตจักรก็ต้องการผู้นำที่เข้มแข็งและสมบูรณ์ ไม่ให้ใครมาตำหนิครอบครัวพระเจ้าว่าไม่เอาไหน